หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » สมควร นิยมวงศ์
 
เข้าชม : ๒๐๐๘๐ ครั้ง
คัมภีร์กังขาวิตรณีอภินวฏีกา ; การแปลและศึกษาวิเคราะห์
ชื่อผู้วิจัย : สมควร นิยมวงศ์ ข้อมูลวันที่ : ๑๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  บรรจบ บรรณรุจิ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑)  เพื่อแปลคัมภีร์กังขาวิตรณีอภินวฎีกาจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย (๒) เพื่อศึกษาประวัติ โครงสร้าง ภาษา และคุณค่าของคัมภีร์กังขาวิตรณีอภินวฎีกา (๓) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญของคัมภีร์กังขาวิตรณีอภินวฎีกาและความสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เน้นศึกษาเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า ได้คัมภีร์กังขาวิตรณีอภินวฎีกา ฉบับภาษาไทย ความยาว ๓๓๙ หน้า คัมภีร์นี้แต่งโดยพระพุทธนาคเถระ  ที่เมืองอนุราธปุระ ประเทศศรีลังกา ในรัชสมัยพระเจ้าปรักกมพาหุที่ ๑ ราว พ.ศ.๑๖๙๖-๑๗๒๙  มีเนื้อหาว่าด้วยภิกขุปาติโมกข์ และภิกขุนีปาติโมกข์  มีรูปแบบการแต่งเป็นบทร้อยแก้ว (คัชชะ) และบทร้อยกรองหรือคาถา (ปัชชะ) มีลักษณะเด่นคือ การอธิบายที่ละเอียด ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยอธิบายศัพท์ ความหมายและใจความสำคัญของเรื่องตามลำดับเนื้อหาพระวินัย มีการใช้อุปมาและอุปไมยในการอธิบายเพื่อให้เกิดความชัดเจน เป็นคัมภีร์ที่มีคุณค่าต่อพระพุทธศาสนา วรรณคดี ชีวิต และสังคม  มีเนื้อหาสำคัญคืออธิบายปาติโมกข์ อุโบสถ โอวาทปาติโมกข์ ในนิทานวัณณนา  และสิกขาบทต่างๆในภิกขุปาติโมกขวัณณนาและภิกขุนีปาติโมกขวัณณนา  มีความสัมพันธ์กับพระไตรปิฎก อรรถกถา ฎีกา และคัมภีร์อื่น ๓ ด้าน คือ ๑) ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้างเนื้อหา ๒) ความสัมพันธ์ด้านการอธิบายเนื้อหา ๓) ความสัมพันธ์ด้านวรรณคดี

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕