หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระมหานิกร ฐานุตฺตโร (ศรีราช)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๙ ครั้ง
ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระมหานิกร ฐานุตฺตโร (ศรีราช) ข้อมูลวันที่ : ๑๘/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหากฤษฎา กิตฺติโสภโณ
  เกียรติศักดิ์ สุขเหลือง
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์คือ ๑.เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปในการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕  ๒.เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ และ ๓.เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕

การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้สัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน ๑๘ รูป/คนและการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน ๑๑ ท่าน โดยวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาและการวิจัยเชิงปริมาณได้แจกแบบสอบถาม กับกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการ เจ้าสำนักเรียนและครูสอนบาลี จำนวน ๒๙๓ ชุดวิเคราะห์ข้อมูล  โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า

๑.สภาพทั่วไปด้านสถานที่ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕  มีความพร้อมอย่างมากในการก่อสร้าง ซึ่งมีศรัทธาจากเจ้าคณะ พระสังฆาธิการ และศรัทธาจากสาธุชนร่วมด้วยช่วยกันในการบริจาค โดยเฉพาะมีพระเดชพระคุณพระพรหมเวที เจ้าคณะภาค ๑๕ ผู้ซึ่งมีวิสัยทัศน์ก้าวไกล       เป็นอย่างมาก  ได้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ ได้ตั้งโรงเรียนสหศึกษาบาลีซึ่งให้ทุกจังหวัดในเขตปกครอง ภาค ๑๕ ใช้คำว่า “โรงเรียนสหศึกษาบาลี” ๒. ด้านคณาจารย์ เจ้าคณะภาค ๑๕ ได้มอบนโยบาย ให้แต่ละสำนักเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีครูอาจารย์ผู้สอนที่เพียงพอแก่ผู้เรียน ทำให้การจัดการเรียน การสอน พระปริยัติธรรมแผนกบาลีมีประสิทธิภาพ ๓.ด้านหลักสูตร การเรียน - การสอนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี มีการใช้หลักสูตรเดิมที่ใช้กันมาตั้งแต่โบราณทั่วประเทศ ภาษาที่ใช้ในหนังสือเป็นภาษาที่เข้าใจยาก เนื้อหาสาระในแผนกบาลีเน้นการจำและการแปลมากกว่าความเข้าใจ แต่เป็นการดีอย่างหนึ่งคือหลักสูตร เป็นการเน้นรูปแบบเดิมและจดจำ เพื่อรักษาความเป็นต้นฉบับ ในส่วนของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ มีการจัดทำหลักสูตรพิเศษ เช่น หนังสือบาลีไวยากรณ์ฉบับพกพา เป็นต้น ๔.ด้านนักศึกษา เจ้าคณะภาคได้วางนโยบายให้มีการบรรพชาและ/หรืออุปสมบทเข้ามาในบวรพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่อง หรือ ก่อนเข้าพรรษา ทำให้มีทรัพยากรที่จะเข้ามาศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตบุคลากรของพระศาสนา ๕.ด้านเทคโนโลยี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ มีความพร้อมด้านสื่อ แต่ขาดบุคลากรในการจัดทำ

๒.ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ โดยภาพรวม พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างโดยการหาค่าสหสัมพันธ์ Pearson พบว่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) มีค่า ๐.๘๙๕ ซึ่งแสดงว่าปัจจัยที่ส่งผล คือ หลักการบริหารจัดการ POSDC กับ ประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) แล้วพบว่ามีค่า ๐.๙๐๐  ซึ่งแสดงว่า ปัจจัยที่ส่งผล คือ หลักธรรม คือ อิทธิบาทธรรม ๔ กับประสิทธิผลการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๕ มีความสัมพันธ์กัน และมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมาก

๓. นำเสนอแนวทางการพัฒนา ๕ ด้าน คือ ๑)ด้านสถานที่ควรให้อำเภอแต่ละอำเภอในภาค ๑๕ รับจัดการการเรียน การสอน เป็นที่ตั้ง และเจ้าคณะ พระสังฆาธิการในเขตอำเภอนั้นๆให้การสนับสนุนงบประมาณที่เหมาะสม ๒) ด้านคณาจารย์สิ่งที่ควรปรับปรุงคือควรมีการประชุมวางแผนเพื่อจัดทำแผนการสอน ซึ่งในแต่ละชั้นมีการวัดและประเมินผลทุกสัปดาห์ ๓) ด้านหลักสูตรควรสร้างแรงจูงใจดึงดูดความสนใจแก่นักศึกษาภาษาบาลีมากขึ้นและมีการจัดห้องสมุดสำหรับค้นคว้าพระไตรปิฎกโดยเฉพาะหรือมี คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดเพื่อศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม ๔) ด้านนักศึกษา   สิ่งที่ควรปรับหากเป็นไปได้ คือ กระทรวงศึกษาธิการให้การรับรองวุฒิการศึกษาสำหรับผู้จบการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้มากขึ้น และ ๕)ด้านเทคโนโลยีควรมีวิธีการสอนระบบทางไกลและออนไลน์ทำให้ผู้สนใจ ทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ได้ศึกษาจากระบบทางไกลนั้น

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕