หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ยุพเรศ จังพานิช
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ยุพเรศ จังพานิช ข้อมูลวันที่ : ๒๔/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระราชปริยัติกวี (สมจินต์ สมฺมาปญฺโญ)
  ขันทอง วัฒนะประดิษฐ์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๙ มีนาคม ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย ๓ ข้อ คือ (๑) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหา                ที่เกี่ยวข้องกับความผูกพันในองค์กรของบุคลากรการประปานครหลวง (๒) เพื่อศึกษาการเสริมสร้าง                  ความผูกพันในองค์กรตามหลักพุทธสันติวิธี () เพื่อนำเสนอสันตินวัตกรรมการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรของบุคลากรการประปานครหลวงใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ          โดยการตอบแบบสอบถามออนไลน์ของพนักงานด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายกลุ่มตัวอย่าง ๓๕๔ คน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์องค์ประกอบ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์เชิงลึกคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน ๙ กลุ่ม รวมทั้งสิ้นจำนวน ๒๙ รูป/คน และตรวจสอบข้อมูลด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๗ รูป/คน ผลการวิจัยพบว่า

             พนักงานการประปานครหลวงโดยภาพรวมมีความผูกพันในองค์กรอยู่ในระดับมาก วิเคราะห์รายด้านความรู้สึกมีความหมาย (Meaningfulness) อยู่ในระดับมาก (= ๓.๘๕, S.D. = ๐.๕๙) ด้านคุณค่าความรู้สึกปลอดภัยอยู่ในระดับมาก (Safety) (  = .๖๘, S.D. = ๐.๖๗) ด้านความพร้อมที่จะผูกพันอยู่ในระดับมาก (Availability) (= .๗๘, S.D. = .๖๑) และเมื่อวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรมี ๕ องค์ประกอบ คือ ปัจจัยด้านนโยบาย ปัจจัยด้านความสามารถ ปัจจัยด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ปัจจัยด้านความรู้สึกผูกพัน ปัจจัยการเสริมแรง จากผู้นำ โดยองค์ประกอบที่ ๑ มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ ๘ ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .๕๐๘ - .๗๓๑ องค์ประกอบที่ ๒ มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ ๔ ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .๖๔๘ - .๗๔๙ องค์ประกอบที่ ๓ มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ ๓ ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .๕๓๘-.๗๖๘ องค์ประกอบที่ ๔                มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ ๓ ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .๗๓๓ - .๘๐๙ องค์ประกอบที่ ๕ มีจำนวนตัวแปรที่อธิบายองค์ประกอบ ๓ ตัวแปร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบอยู่ระหว่าง .๕๘๐ - .๗๔๙

หลักพุทธสันติวิธีในการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กร ได้แก่ (๑) การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลอื่น ๆ ในสังคม (๒) การสร้างความไว้วางใจและความเชื่อมั่นแก่คนอื่น (๓)           การสร้างการมีส่วนร่วมให้เกิดขึ้นแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (๔) การสร้างความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกคน (๕) การหมั่นประชุมเพื่อปรึกษาหารือซึ่งกันและกัน (๖) การแบ่งปันทรัพยากร   และสิ่งอื่นแก่เพื่อนมนุษย์ ผู้วิจัยเห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือเรื่องของศีลธรรมซึ่งผู้วิจัยพบว่าพุทธสันติวิธีเป็นหลักบริหารองค์กรให้ประสบความสำเร็จ

สันตินวัตกรรมการเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรของบุคลากรการประปานครหลวง กำหนดเป็นกลยุทธ์นโยบายสันติสุขของการประปานครหลวง (STRATEGIES  for  MWA’s PEACE : Peace Policy Participation ; PPP) หรือเรียกว่านโยบายสันติสุข ๔ ประการ (4’s Peace Policy Participation) ซึ่งประกอบด้วย (๑) การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างความผูกพัน (๒) การจัดส่งเสริมสุขภาพทางกายทางการเงิน และทางใจเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในระดับบุคคล (๓) การส่งเสริมการสร้างความผูกพันในองค์กรอย่างเอาใจใส่และต่อเนื่องพร้อมทั้ง (๔) การให้เวลาและโอกาสใน    การสร้างวัฒนธรรมยกย่องคนดี

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕