หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูปลัดเมธาลักษณ์ ฐิตโสภโณ (หงษ์โสภา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๐ ครั้ง
บทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ (สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูปลัดเมธาลักษณ์ ฐิตโสภโณ (หงษ์โสภา) ข้อมูลวันที่ : ๒๕/๑๐/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  เกษม แสงนนท์
  บุญเชิด ชำนิศาสตร์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒
 
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ              ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ๓) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาบทบาทพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ควบคู่กับการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methodology Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณกับการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูและนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน ๓๗๙ คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA)

 

              ผลการวิจัย

              ความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยภาพรวม และรายด้านทุกด้าน อยู่ในระดับมาก

              ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีสถานภาพ และเพศ ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

              ข้อเสนอแนะต่อบทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ พบว่า ๑) ด้านการเตรียมการสอน พระสอนศีลธรมควรเตรียมความพร้อมล่วงหน้าเกี่ยวกับหนังสือแบบเรียน ตำารา เอกสาร  และควรมีการวางแผน การเตรียมเนื้อหาสาระ ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ๒) ด้านการดำเนินการสอน พระสอนศีลธรรม ควรมีการนำสื่อการเรียนมาใช้ในการสอน มีความประสานสัมพันธ์กับเนื้อหาของบทเรียน  และควรมีการสอดแทรกจริยธรรมและคุณธรรมควบคู่ไปกับการเรียนการสอน โดยจะต้องมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้ความคิดอยู่เสมอ ๓) ด้านการใช้สื่อ/อุปกรณ์ในการสอน ควรมีใช้สื่อ/อุปกรณ์การสอนที่เตรียมไว้พร้อมใช้งานได้ทันที มีความคล่องแคล่วและชำนาญ โดยไม่ติดขัด และควรใช้สื่อการเรียนการสอนที่ตรงกับเนื้อหาของบทเรียน ชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมถึงทำให้เกิดความสนใจ ๔) ด้านการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน พระสอนศีลธรรม ควรสร้างบรรยากาศให้นักเรียนเกิดความสนใจในการเรียน ทำให้นักเรียนเกิดความกระตือรือร้นในเนื้อหาหรือสิ่งใหม่ๆ และควรจัดกิจกรรมที่เป็นการสร้างบรรยากาศในการใฝ่หาความรู อยู่เสมอ ๕) ด้านการวัดผลและการประเมินผลการเรียน พระสอนศีลธรรม ควรมีการประเมินผลก่อนเรียน เพื่อทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียน และควรมีวิธีการวัดผลและเครื่องมือวัดผลให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของสิ่งที่ต้องการวัดผล

 

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕