หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นางสาวณัฏฐจิตต์ เลาห์วีระ
 
เข้าชม : ๒๐๐๕๕ ครั้ง
ศึกษาเรื่องศักติในพุทธตันตระ(๒๕๕๑)
ชื่อผู้วิจัย : นางสาวณัฏฐจิตต์ เลาห์วีระ ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ
  ศาสตราจารย์ พิเศษ อดิศักดิ์ ทองบุญ
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๕๑
 
บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
๑) กำเนิดและพัฒนาการแห่งแนวคิดเรื่องศักติในพุทธตันตระ
๒) พัฒนาการจากกรุณาและปัญญา (ปรัชญา)มาเป็นพระธยานีพุทธะ พระธยานี
โพธิสัตว์และศักติ
๓) อิทธิพลของแนวคิดเรื่องศักติ-ศักตะ ที่มีต่อนานาประเทศ
          ผลจากการศึกษาพบว่า
๑) พระพุทธศาสนาในทิเบต คือพัฒนาการขั้นสุดท้าย แห่งพระพุทธศาสนาใน
อินเดีย ดังนั้น ท่ามกลางกระแสการต่อสู้แข่งขันอย่างรุนแรง ระหว่างพุทธตันตระกับฮินดู
ตันตระ เพื่อกลยุทธ์ในการดำรงอยู่นั้น “ศักติ” จึงได้ถือกำเนิด และอุบัติขึ้นมาท่ามกลางบริบท
ของสังคมในยุคนั้น เป็นพลังอำนาจแฝงด้านปัญญา เคียงบ่าเคียงไหล่เคียงคู่กันกับ “ศักตะ” ซึ่งเป็นพลังกรุณาแห่งบุรุษเพศ ทั้งศักติและศักตะ ต่างก็เป็นบุคลาธิษฐานทางธรรมะทั้งคู่
๒) สำหรับพัฒนาการแนวคิด จากกรุณาและปัญญานั้น พระธยานีพุทธและพธยานี
โพธิส้ตว์ต่างก็เป็นตัวแทนสอนพระกรุณาธิคุณ ของพระพุทธเจ้า ในขณะที่ศักติ คือ ตัวแทน
ของพระปัญญาคุณ ของพระพุทธเจ้าในฮินดูตันตระนั้น เมื่อพระศิวะรวมตัวกับศักติ โลกจึงได้บังเกิดขึ้น แต่ลัทธิพุทธตันตระ เมื่อพระธยานีพุทธะ และพระธยานีโพธิสัตว์ รวมตัวกับศักติ ได้แก่ความกรุณา มารวมตัวกับปัญญา (ปรัชญา) การตรัสรู้ จึงบังเกิดขึ้น เป็นประทีปที่ส่องสว่าง นำให้เรารู้เท่าทันโลกและพาตัวเราออกจากสังสารวัฎ
๓) สำหรับอิทธิพลของศักติ – ศักตะ ต่อนานาประเทศ โดยเฉพาประเทศธิเบตนั้น
การปฏิบัติ ธรรม โดยใช้วิธี “ตัณหาละตัณหา” เป็นการตรัสรู้ธรรม แบบรวดเร็วดั่งสายฟ้า
ดังนั้น ต้องมีพระลามะ หรือคุรุ เป็นผู้ถ่ายทอดวิชา และเป็นผู้ชี้แนะที่สำคัญที่สุด.

 


Download :  255117.pdf

 

 

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕