หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูวรดิตถานุยุต (สังเวย คเวสโก)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๐ ครั้ง
ความคิดเห็นของครูและนักเรียนต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย : พระครูวรดิตถานุยุต (สังเวย คเวสโก) ข้อมูลวันที่ : ๑๐/๐๘/๒๐๑๓
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรพล สุยะพรหม, ป.ธ.๔, พ.ม., พธ.ม., M.A., Ph. D. (Pol. Sc.)
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ประโยค ๑ – ๒, น.ธ.เอก, พธ.บ.(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง), ศศ.ม.(พัฒนาสังคม)
  ผศ.ดร.โกนิฏฐ์ ศรีทอง, ป.ธ.๗, พธ.บ., M.A.(Soc.),Ph.D.
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ
              การวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ๒) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูและนักเรียนที่มีต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม และ ๓) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูและนักเรียนในโรงเรียนอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม จำนวน ๓๓๕ คน ซึ่งใช้วิธีการการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling)) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม โดยมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .๙๕๘๘ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการศึกษา พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๓ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ครู มีความคิดเห็นต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในด้านการเตรียมการสอน อยู่ในระดับ ปานกลาง ค่าเฉลี่ย ๓.๔๕ ส่วนด้านการดำเนินการสอน อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๓ และการวัดผลและการประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๒
    สำหรับนักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๖๒ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียน มีความคิดเห็นต่อบทบาทพระภิกษุผู้สอนธรรมศึกษาในด้านการเตรียมการสอน อยู่ในระดับ มากที่สุด ค่าเฉลี่ย ๓.๕๖ ส่วนด้านการดำเนินการสอน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๔๗ และการวัดผลและการประเมินผลอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๓.๘๒
    ครูและนักเรียน มีความคิดเห็นต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม โดยรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้      เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นต่อบทบาทบทบาทครูพระสอนศีลธรรม ในด้านการเตรียมการสอน ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนด้านการดำเนินการสอนและวัดผลและประเมินผล ครูและนักเรียนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
    ผลการศึกษาปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่มีต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม ได้แก่ จำนวนครูพระสอนศีลธรรมที่ไม่เพียงพอ การเดินทางของครูพระสอนศีลธรรม การจัดเวลาในการเรียนการจัดทำแผนการเรียนการสอน ค่าตอบแทน รวมไปถึงสื่อการเรียนการสอนและการพัฒนาสื่อการสอนของครูพระสอนศีลธรรมที่ยังไม่ทันสมัย ได้แก่ การเพิ่มจำนวนพระภิกษุผู้สอนธรรมศึกษา การจัดเวลาเรียนให้เหมาะสม การจัดประชุมรวมกันของครูพระสอนศีลธรรมและผู้บริหาร โรงเรียน การเพิ่มค่าตอบแทน การจัดหาสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ทันสมัย ครูพระสอนศีลธรรมมีปัญหาในเรื่องการควบคุมดูแลเด็ก เพราะใจดีเกินไป
 
 
 
 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕