เข้าชม : ๒๐๐๓๔ ครั้ง |
การวิเคราะห์แนวคิดเรื่องสัมภเวสีในพระพุทธศาสนาเถรวาท |
|
ชื่อผู้วิจัย : |
พระปลัดปราโมทย์ จารุวณฺโณ |
ข้อมูลวันที่ : ๑๒/๐๘/๒๐๑๓ |
ปริญญา : |
พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา) |
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ : |
|
พระมหาสมบูรณ์ วุฑฺฒิกโร, ดร. ปธ.๗, พธ.บ., ศศ.ม., พธ.ด. |
|
ดร. แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม อบ., บศ. ๙, ศศ.บ., ศศ.บ., พธ.ม., พธ.ด. |
|
ดร. ศศิวรรณ กำลังสินเสริม คศ.บ., พธ.ม., พธ.ด. |
วันสำเร็จการศึกษา : |
2555 |
|
บทคัดย่อ |
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องสัมภเวสีในพระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อศึกษาให้ชัดเจนว่า สัมภเวสี เป็นใคร มาจากไหน เพื่อสงเคราะห์ชาวพุทธจะได้เข้าใจได้อย่างถูกต้อง ตามแบบคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา
ผลของการวิจัยพบว่า แนวคิดเรื่องสัมภเวสีในพระพุทธศาสนาเถรวาท ทราบว่า สัมภเวสีประกอบไปด้วย ขันธ์ อายตนะ ที่เรียกขานกันว่าร่างกายและจิตใจ ของคน สัตว์เทวดา รูปพรหม อรูปพรหม ซึ่งการที่จะเกิดมาเป็นคนสัตว์หรือเทวดาก็ด้วยอำนาจของกรรมดีและกรรมชั่ว การเป็นอยู่หรือกระบวนการแห่งความเป็นไปของสังสารวัฏมีธรรมชาติปรากฏขึ้น ด้วยการอิงอาศัยกันและดับไปด้วยเหตุปัจจัย เป็นสภาวะหมุนเวียนด้วยความเป็นทั้งเหตุและผล สามารถพัฒนา สัมภเวสี ให้พ้นจากภาวการณ์เป็น สัมภเวสี ด้วยการเจริญสติปัฏฐานทั้ง ๔ ได้
ในสังคมไทยระดับชาวบ้านกล่าวกันว่า ภูตผีปีศาจ เป็นความลี้ลับของโลกวิญญาณ สัมภเวสี เป็นวิญญาณที่เร่ร่อน สำหรับนักวิชาการมีแนวคิดว่า วิญญาณมีหน้าที่รับรู้อารมณ์ หรือคิดอ่านอารมณ์ต่าง ๆ ทางตา หู จมูก ลิ้น กายและสมอง โดยที่วิญญาณนี้ จะต้องทำงานผ่านระบบประสาทสัมผัส จึงจะทำหน้าที่เห็นและได้ยิน เป็นต้นได้ ไม่ได้ทำให้หวาดกลัวในรูปแบบต่าง ๆ เช่นเป็น ผี ปีศาจ อสูรกาย เปรต ซึ่งเร่ร่อนอยู่ในโลกจะคอยซ้ำเติม ให้ได้รับความทุกข์ร้อน เรื่องการสวดมนต์มีความเชื่อว่า เมื่อสวดมนต์แล้วจะคุมครองตนเองและลูกหลานให้พ้นจากภัยต่าง ๆ มีการเจ็บป่วย เป็นต้นได้ ดังนั้นการศึกษาเรื่อง สัมภเวสี จึงมีประโยชน์ต่อสังคมไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา เพื่อสร้างความถูกต้องในการไหว้ทิศทั้ง ๖ มีเรื่องความกตัญญูเป็นต้น ของคนในสังคมไทย ที่มีความเชื่อเดิมเกี่ยวกับเรื่องสัมภเวสี ที่คลาดเคลื่อนที่จะมีผลกระทบต่อตนเอง และผู้อื่นทั้งในปัจจุบัน และอนาคตในด้านลบ ซึ่งไม่ตรงกับทางพระพุทธศาสนา ที่สอนว่า สัมภเวสี ไม่ใช่วิญญาณที่ล่องลอยหาที่เกิด สัมภเวสี คือ ปุถุชนและเสขะบุคคล
ดาวน์โหลด
|
|
|