หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุนันทกิจโกศล (สุวัฒน์ สุวฑฺฒโน)
 
เข้าชม : ๒๐๐๑๗ ครั้ง
บทบาทของเจ้าอาวาสต่อการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ในอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี(การจัดการเชิงพุทธ)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุนันทกิจโกศล (สุวัฒน์ สุวฑฺฒโน) ข้อมูลวันที่ : ๑๙/๐๙/๒๐๑๕
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(การบริหารจัดการคณะสงฆ์)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  สุรพล สุยะพรหม
  พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์
  ภัทรพล ใจเย็น
วันสำเร็จการศึกษา : 2555
 
บทคัดย่อ

  งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อ ๑) ศึกษาบทบาทของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ๒) เปรียบเทียบบทบาทของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชน ตามความคิดเห็นของประชาชน ๓) ศึกษาแนวทางพัฒนาบทบาทของเจ้าอาวาสในการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชน 

ในอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี จำนวน ๔๐๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ ๐.๙๖๔๗ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติเชิงอนุมาน คือ สถิติทดสอบค่าที (t-test)  สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และทำการทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด (Least Significant Difference : LSD)

ผลการวิจัย พบว่า  

๑. ระดับบทบาทของเจ้าอาวาสต่อการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางชุมชน ในเขตอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย ๓.๙๗  ตามลำดับ ค่าเฉลี่ย คือ  ด้านศาสนบุคคล/บุคลากร ๔.๐๗  ด้านศาสนพิธี/กิจกรรม ๔.๐๔ ด้านศาสนวัตถุ/สถานที่ ๓.๘๐

 

๒. ผลการเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อบทบาทของเจ้าอาวาสต่อการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนในเขตอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี จำแนกตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มี เพศ อายุ วุฒิการศึกษา ระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในชุมชน สถานภาพ อาชีพ ต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของเจ้าอาวาสต่อการพัฒนาวัดเป็นศูนย์กลางชุมชนในอำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี ในภาพรวมไม่แตกต่างกัน ซึ่งปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้ 

๓. แนวทางการบริหารและการจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนและปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน คือ ๑) ด้านศาสนพิธี/กิจกรรม ได้แก่ ควรปรับปรุงรูปแบบการประกอบศาสนพิธี และ ส่งเสริมประชาชน ให้เข้าร่วมในกิจกรรมทางพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา  ๒) ด้านศาสนบุคคล/บุคลากร ได้แก่ ควรคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาบวช และส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรอบรมสั่งสอนธรรมะแก่ประชาชน ๓) ด้านศาสนวัตถุ/สถานที่ ได้แก่ ควรบูรณะและปฏิสังขรณ์ ศาสนสถานภายในวัดให้มีความเรียบร้อยสวยงาม สงบร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมหรือนั่งสมาธิ 

ข้อเสนอแนะสำหรับนำไปปฏิบัติในการบริหารและการจัดการวัดให้เป็นศูนย์กลางของชุมชนและปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้วัดเป็นศูนย์กลางของชุมชน คือ ๑) ควรมีการปรับปรุงรูปแบบของการประกอบศาสนพิธีให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น ๒) ควรคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาบวชเรียนให้รอบคอบกว่านี้ และส่งเสริมให้พระภิกษุสามเณรอบรมสั่งสอนธรรมะแก่ประชาชนอย่างเป็นประจำ ๓) ควรมีการบูรณะและปฏิสังขรณ์ ศาสนสถานภายในวัดให้มีความเรียบร้อยสวยงาม  ๔) ควรส่งเสริมและชักชวนให้ชาวชุมชน ได้เข้าร่วมในกิจกรรมและพิธีกรรมต่างๆทางศาสนา และพัฒนาวัดให้ดูสะอาด ๕) ควรปรับปรุงสภาพแวดล้อมของวัดให้มีความสงบร่มรื่น เหมาะแก่การปฏิบัติธรรมหรือนั่งสมาธิ และนำตัวอย่างไปใช้กับชุมชน

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕