หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระครูสุขุมสังฆการ (วรเมธ โพธิสาโร/ศรีโพธิ์วัง)
 
เข้าชม : ๒๐๐๓๑ ครั้ง
การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาเยาวชน : ศึกษากรณี พระเทพวงศาจารย์ (คูณ ขนฺติโก)(๒๕๔๙)
ชื่อผู้วิจัย : พระครูสุขุมสังฆการ (วรเมธ โพธิสาโร/ศรีโพธิ์วัง) ข้อมูลวันที่ : ๒๓/๐๘/๒๐๑๐
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระปลัดสมชาย กนฺตสีโล
  รศ.ดร.เอกฉัท จารุเมธีชน
  ดร.ประยูร แสงใส
วันสำเร็จการศึกษา : ๒๕๔๙
 
บทคัดย่อ

               วิทยานิพนธ์นี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาเยาวชน การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อสอนเยาวชนของพระเทพวงศาจารย์ (คูณ ขนฺติโก) และการ
สงเคราะห์เยาวชนตามหลักสังคหวัตถุของพระเทพวงศาจารย์ (คูณ ขนฺติโก)
                ผลจากการวิจัย พบว่า พระเทพวงศาจารย์ (คูณ ขนฺติโก) ได้ประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาด้านคุณธรรมแก่เยาวชนตามหลักไตรสิกขา ๓ ดังต่อไปนี้
หลักศีล ประยุกต์สอนในรูปแบบปาฐกถา (หรือบรรยาย) การใช้ระเบียบข้อบังคับ การใช้หลักศีลบารมี การให้รางวัลแก่เยาวชนผู้ทำความดี
หลักสมาธิ ประยุกต์สอนให้เยาวชนมีสติในชีวิตประจำวัน และสอนด้วยทสบารมีในข้อว่าด้วยวิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐานะ เมตตา และอุเบกขาบารมีหลักปัญญา ประยุกต์สอนให้เยาวชนเป็นคนดีรู้จักเหตุและผล สิ่งควรไม่ควรทำ สอนด้วยความเป็นกัลยาณมิตร ใช้อุบายวิธีในการสอบถามกระตุ้นปัญญา สอนให้รู้คุณค่าปัญญา เล่านิทานหรือเหตุการณ์ให้เกิดปัญญา สอนโดยใช้สื่อทางประเพณีท้องถิ่น และสอนโดยการสาธิตให้เยาวชนดูเป็นตัวอย่าง เพื่อเกิดปัญญารู้จริง ส่วนวิธีการปลูกฝังจริยธรรมแก่เยาวชน คือ สอนให้เยาวชนมีเมตตาด้วยการเลี้ยงสัตว์ ปลูกฝังค่านิยมในการทำงาน ส่งเสริมอาชีพและเทคโนโลยี ส่งเสริมงานอดิเรก และ
กิจวัตรที่ดีงามแก่เยาวชน ผลสัมฤทธิ์ในการประยุกต์หลักพุทธธรรม มี ๓ ด้าน ทำให้เยาวชนมีความดี มีความสุข และมีความเก่งหรือความสามารถในการดำรงชีวิต


การสงเคราะห์เยาวชนตามหลักสังคหวัตถุ ๔ ข้อ คือ

(๑) การให้ทาน คือ ให้ปัจจัย ๔ ที่จำเป็นต่อการศึกษาของเยาวชน และการให้ความรู้เป็นทาน ที่เรียกว่า ธรรมทาน

(๒) การให้คำแนะนำหรือคำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อเยาวชน

(๓) การนำเยาวชนร่วมบำเพ็ญประโยชน์ในโครงการและกิจกรรมหลายอย่าง

(๔) การวางตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อเยาวชน


                โดยสรุป การสงเคราะห์ของท่านแม้จะไม่ครอบคลุมทุกเรื่อง แต่ก็ถือว่าท่านได้สงเคราะห์เยาวชนด้วยเมตตาจิต ในฐานะของพระสงฆ์ทางพระพุทธศาสนารูปหนึ่ง ซึ่งมีคุณูปการแก่เยาวชนและควรถือเป็นแบบอย่างที่ดีสืบไป


 

 

Download : 254930.pdf



 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕