การประชุมชาวพุทธนานาชาติ เนื่องวันวิสาขาบูชา วันสำคัญสากลของสหประชาชาติ ณ กรุงเทพมหานคร วันนี้ (๒๒ พ.ค. ๕๖) เป็นวันสุดท้ายของการประชุมที่มีสมเด็จพระสังฆราช พระมหานายกะ ประมุขสงฆ์ ผู้นำองค์กรชาวพุทธ นักปราชญ์ นักวิชาการศาสนา ทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายาน วันแรก (๒๑ พ.ค.๕๖) วันแรกของการสัมมนาเป็นพิธีเปิดการประชุมโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีรัศมิ์ พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร มีพระดำรัสเปิดการประชุมและถวายเครื่องไทยธรรมแก่พระสังฆราชและประมุขสงฆ์ โดยมีเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าอาวาสวัดปากน้ำภาษีเจริญ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ กล่าวต้อนรับโดย พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ศ.ดร.) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และประธานกรรมการดําเนินการจัดประชุมชาวพุทธนานาชาติ จากนั้น ฯพณฯ พงค์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ปาฐกถา เรื่อง “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา” (Education and Global Citizenship: A Buddhist Perspective) จากนั้นเปิดโอกาสให้นักปราชญ์ได้เสวนาทางวิชาการ เรื่อง “การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา” ซึ่งเป็นกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของชาวพุทธที่มีบทบาท มีประสบการณ์ตรงทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่สงเคราะห์ให้การศึกษาแก่เยาวชนในหลายด้านเช่น ด้านการศึกษา การสาธารณสุข การสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรพระพุทธศาสนา โดยการนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง รวมทั้งการอ่านสาส์นของบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง สำหรับหัวข้อที่กำหนดจัดขึ้นในปีนี้ ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญยิ่งและมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษาของเยาวชน กล่าวเฉพาะส่วนของกลุ่มประเทศอาเซียนที่จะมีการรวมตัวกันในด้านเศรษฐกิจในอีก ๒-๓ ปีหน้านี้ ถ้าจะพูดถึงเยาวชน โดยเฉพาะเยาวชนที่ผู้ปกครองมีฐานะอยากจนที่พระสงฆ์เข้าไปมีบทบาทสำคัญ เช่น โรงเรียนการกุศลของวัดต่างๆ ซึ่งสังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) กระทรวงศึกษาธิการ ปัจจุบันโรงเรียนการกุศลในวัดมีจำนวนมากกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ และมีแนวโน้มจะสูงขึ้น เนื่องจากพระเห็นความสำคัญทางด้านการศึกษา รวมทั้งเปิดโอกาสให้เด็กที่ขาดแคลนทั้งชาย-หญิง หรือเด็กที่ไม่ได้บวชเรียนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมได้เรียนในระบบสามัญทั่ว ไป โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการเรียนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้อนุมัติพระวันชัย ธนวํโส (กัณหะกาญจนะ) ทำดุษฏีนิพนธ์ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนการกุศลของวัด สะท้อนให้เห็นถึงบทบาทของพระสงฆ์ที่มีจิตอาสาอุทิศตนเพื่อการศึกษาพระพุทธศาสนา นอกจากนี้มีพระสงฆ์อีกจำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของเยาวชน เช่น โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีเครือข่ายทั่วประเทศ โรงเรียนพระปริยัติธรรม โรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา ไม่นับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กที่มีกระจัดการจายทั่วประเทศ และในต่างประเทศก็มีมาก ซึ่งเป็นบทบาทที่พระสงฆ์สามารถนำหลักพุทธธรรม โดยเฉพาะรักเมตตาธรรม เจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้ประทานคติธรรมอย่างน่าคิดว่า “เมื่อวันสำคัญทางพระพุทธศาสนามาถึง คือวันวิสาขบูชา เวียนมาถึง จึงเป็นโอกาสดีที่พุทธศาสนิกชนทั่วโลก จักได้ทวบทวนหลักคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และบทบาทของตนเองในการทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา เมื่อนำสันติสุข สันติภาพ ไปสู่มวลมนุษยชาติ” นักปราชญ์ นักวิชาการศาสนาได้เสนอแนวคิดมากมายที่จะทำให้การศึกษากับความเป็นพลเมืองโลก: มุมมองพระพุทธศาสนา นั่นคือการทำหน้าที่บทบาทของพุทธบริษัท ๔ คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา แยกเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนการศึกษาเล่าเรียน เพิ่มพูนความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ และส่วนการอุทิศตนเพื่อสังคม ความเป็นผู้มีจิตอาสา อุทิศตนเพื่อสังคม วันที่ ๒ วันนี้ มีการอ่านสาส์นของบุคคลสำคัญๆ ในส่วนของรัฐบาลไทย ได้มอบหมายให้ ศันสนีย์ นาคพงศ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางมาร่วมงานอ่านสาส์นนายกรัฐมนตรีของไทย จากนั้นมีการเสวนาการเสวนาทางวิชาการเพื่อการฉลองพระชันษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เรื่อง “พระสงฆ์กับการส่งเสริมการศึกษาและคุณค่าความเป็นมนุษย” มีการลงนามปฏิญญากรุงเทพ และในช่วงเย็นจะได้เดินทางไปร่วมเดินธรรมยาตราที่พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐมด้วย โดยที่ประชุมได้ร่วมใจถวายพระพรชัยแต่สมเด็จพระสังฆราช ด้วย ข่าวโดยพระมหาศรีทนต์ สมจาโร ผู้อำนวยการส่วนหอสมุดกลาง